
‘มูลนิธิรอสคองเกรส’ เผยโอกาสลงทุนระหว่าง ‘รัสเซีย-ไทย’ ครั้งแรกในประเทศไทย
วันที่ 12 ธันวาคม 2567 กรุงเทพมหานคร จะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมของมูลนิธิรอสคองเกรส (Roscongress Foundation) ขึ้นครั้งแรก โดยมีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมศักยภาพทางธุรกิจและการลงทุนของรัสเซียในประเทศไทย โดยภายในงานยังเป็นการรวมตัวแทนของภาคธุรกิจไทยเพื่อค้นหาโอกาสในการเข้าสู่ตลาดของรัสเซีย
.
การประชุมครั้งนี้จะนำเสนอระบบนิเวศของมูลนิธิรอสคองเกรส ซึ่งประกอบด้วยโครงการสำคัญ ได้แก่
St. Petersburg International Economic Forum (SPIEF), Russian Energy Week (REW), Eastern Economic Forum (EEF), the “Let’s Travel!” Forum, the Russian Design Industry Forum และ RC-Investments
.
ทั้งนี้ อเล็กซานเดอร์ สตุกเลฟ (Alexander Stuglev) ประธานและซีอีโอของมูลนิธิรอสคองเกรส กล่าวว่า “ในปี 2566 มูลค่าการค้าระหว่างรัสเซียและไทยเพิ่มขึ้นถึงประมาณ 1.5 พันล้านดอลลาร์ และเมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ไทยเข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่ม BRICS ในการประชุมสุดยอดของกลุ่มในครั้งล่าสุด ด้วยความเป็นสมาชิกภาพข้างต้น ประเด็นเรื่องการเพิ่มปริมาณการค้าและเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางธุรกิจของทั้งสองประเทศจึงได้รับความสนใจขึ้นมา โดยโปรเจคของรอสคองเกรสจะเข้ามาสร้างแพลตฟอร์มในการพูดคุย ค้นหาพันธมิตร และการริเริ่มโครงการร่วมกัน” พร้อมกล่าวเสริมว่า “เรายินดีที่จะจัดการประชุมแรกในประเทศไทยเพื่อนำเสนอศักยภาพการลงทุนของรัสเซียและเพิ่มจำนวนคณะผู้แทนของไทยในงานธุรกิจสำคัญของประเทศอีกด้วย”
.
กิจกรรมภายในงานประกอบด้วยการนำเสนอโครงการของรอสคองเกรสและการอภิปรายวงเปิดเกี่ยวกับโอกาสและความท้าทายทางธุรกิจสำหรับบริษัทไทยและรัสเซีย โดยผู้บรรยายมาจากทั้งสมาคมธุรกิจรัสเซีย ศูนย์ส่งออกรัสเซีย (Russian Export Center) คณะผู้แทนทางการค้ารัสเซียประจำประเทศไทย (Russian Trade Mission in Thailand) รวมทั้งธุรกิจระดับภูมิภาคที่ซึ่งเชื่อมโยงกับรัสเซีย
.
เยฟกินี โทมิคิน (Evgeny Tomikhin) เอกอัครราชทูตรัสเซียประจำประเทศไทย กล่าวว่า “ในมุมมองของภาคธุรกิจไทย การร่วมมือกับรัสเซียเปิดโอกาสอย่างมากสำหรับอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น LNG ปิโตรเคมี และการผลิตไฟฟ้า นอกจากนี้ เรายังเห็นความสนใจที่เพิ่มขึ้นในความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์ เกษตรกรรม และการจัดหาผลิตภัณฑ์จากรัสเซีย ไม่ว่าจะเป็นอาหารทะเล สินค้าจากภาคตะวันออก เนื้อวัว และผลิตภัณฑ์จากนม”
.
พร้อมทั้งกล่าวว่า “การประชุมครั้งนี้มอบโอกาสให้ภาคธุรกิจได้เข้าใจศักยภาพของรัสเซียลึกซึ้งมากขึ้น ค้นหาพันธมิตร และสร้างความสัมพันธ์ระยะยาวเพื่อความร่วมมือที่เป็นประโยชน์ในอนาคต” ทั้งนี้ ภายใต้กิจกรรมทั้งหมด เวทีเสวนาเศรษฐกิจแถบตะวันออก หรือ Eastern Economic Forum (EEF) ถือเป็นเวทีที่มีความสำคัญมากที่สุด โดยการเสวนาดังกล่าวจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 3-6 กันยายน 2568 ฟอรั่มเสวนานานาชาตินี้มุ่งเน้นความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก
.
“ฟอรั่ม EEF ครอบคลุมหัวข้อหลากหลายและรวมตัวแทนทั้งจากภาคธุรกิจและภาครัฐ ซึ่งประกอบด้วยหัวข้อตามธีมต่างๆ การอภิปรายประเด็นร้อน การแลกเปลี่ยนในวงนักธุรกิจ รวมทั้งเวทีประชุมที่มุ่งเน้นการสร้างความสัมพันธ์ทางธุรกิจระหว่างประเทศ เช่น วาระการประชุมรัสเซีย-อาเซียน” อิกอร์ ปาฟลอฟ (Igor Pavlov) รองซีอีโอคนแรกของมูลนิธิรอสคองเกรสและผู้อำนวยการฟอรั่มเศรษฐกิจแถบตะวันออก กล่าว
.
“คณะผู้แทนไทยมีส่วนร่วมในเข้าร่วมฟอรั่มนี้มาโดยตลอด อย่างในปี 2566 คุณกฤษฎา เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พร้อมตัวแทนจาก 157 บริษัทในภาคส่วนต่าง ๆ ตั้งแต่พลังงานจนถึงไอทีต่างเข้าร่วมเวทีเสวนาอย่างพร้อมเพรียง”
.
ผู้ที่สนใจสามารถลงทะเบียนเพื่อเข้างานได้ที่เว็บไซต์ของ
Roscongress Foundation: https://roscongress.org/en/events/vyezdnaya-sessiya-po-prodvizheniyu-biznes-i-investitsionnogo-potentsiala-rossii-v-korolevstve-tailan/about/

